วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์

1.จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์

     เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
     1.
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ 
     2.
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
     3.
การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
     4.
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
         
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
     1.
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
     2.
ความถูกต้อง (Information Accuracy) 
     3.
ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) 
     4.
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
         
ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
     1.
กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     2.
กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
     3.
กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
     4.
กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
     5.
กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
     6.
กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
         
ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม2546)

แหล่งที่มา

กรณีศึกษา : เรื่องจริยธรรมของนักสารสนเทศ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
                        เป็นที่ทราบกันดีว่า คอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ขึ้นอยู่กับคนที่ใช้ว่าใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายล้าง แต่ถ้าพูดถึงด้านการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางที่ผิด ก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อยครั้งกับกรณีที่มีผู้ไม่หวังดีใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงหญิงสาวไปข่มขืนและชิงทรัพย์
      จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2549 ที่ผ่านมา ตำรวจได้ตาม ตะครุบตัว นายหนึ่ง (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี หลังจากได้ร่วมกับพรรคพวกที่ยังหลบหนี หลอกลวงหญิงสาวผู้เสียหายที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมแชต (Chat) โดยมีการแลกเบอร์โทรศัพท์และนัดเจอกัน สุดท้ายก็ไปจบลงตรงที่เหยื่อถูกบังคับข่มขืนจนยับเยิน แถมยังบังคับให้เหยื่อโทรศัพท์ไปบอกญาติโอนเงินมาให้อีกกว่า 1 แสนบาท ก่อนจะพาร่างอันสะบักสะบอมของเหยื่อไปปล่อยทิ้งไว้
    
ถัดมารุ่งเช้า จิ้งจอกสังคมออกปฏิบัติการอีก โดยใช้ แชตออนไลน์เป็นเครื่องมือเหมือนเดิม พูดคุยหลอกล่อเหยื่อสาวซึ่งเป็น นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งจนตายใจ แล้วใช้แผนสองนัดแนะเจอกัน เมื่อเหยื่อสาวหลงเชื่อยอมซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปด้วย โดยพาเหยื่อเลี้ยวเข้าอพาร์ตเมนต์ไปบังคับข่มขืนใจ ก่อนจะชิ่งหนีลอยนวล  ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นแล้วว่ามหาภัยจาก แชตออนไลน์น่ากลัวและอันตรายเพียงใด หากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม เหยื่อบางรายอาจจะ โชคดีในความ โชคร้ายที่แม้จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดกลับบ้านได้ ในขณะที่หลายรายอาจไม่โชคดีเช่นนั้น

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบางประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีกฎหมายควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังไม่สามารถควบคุมภัยล่อลวงต่าง ๆ จากสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเด็ดขาดเต็มที่โดยเฉพาะควบคุมดูแลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นก็ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะการเผยแพร่สื่อสารลามกหรือบ่อนการพนัน
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เหตุผลและความจำเป็นในการตรากฎหมาย
           
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล หรือให้บริการต่างๆ มากขึ้น แต่ผู้ให้บริการแต่ละรายจะมีวิธีการหรือมาตรการในการเก็บรักษา ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท เช่น บริษัทที่ให้บริการ โทรศัพท์แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เปลี่ยนรูปแบบการชำระค่าบริการรายเดือนเป็นการโอนเงินแบบออนไลน์ โดยจะมีนโยบายของบริษัทกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น จะไม่นำข้อมูลที่กรอกซึ่งมีลักษณะเป็น customer identifiable information จากที่ลงทะเบียนไปขาย แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลที่สาม เพื่อให้ผู้ใช้บริการไว้วางใจและใช้บริการเพิ่มขึ้น

            อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านั้นเป็นสิ่งที่แต่ละบริษัทกำหนดขึ้นเอง เพราะฉะนั้นบางบริษัทก็อาจไม่มี หรือมีแต่ไม่รักษาวินัยในการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลให้เกิดการละเมิดหรือนำไปใช้ในทางมิชอบมากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ โดย พ...ญาณพล ยั่งยืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แหล่งที่มา

กรณีศึกษา :ที่ผิดกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

สทศ.โดน Hack Web Site เด็กมือดีวาดการ์ตูนเล่น ๆ ทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า "สัมพันธ์" ยอมรับถูกหยาม แต่ยังย้ำดูแลระบบข้อมูลนักเรียนได้แน่นอน แถมระบบป้องกันรัดกุม "ไชยยศ" ไม่วางใจ สั่ง สทศ.ตามดมกลิ่นมือดี พร้อมเรียกบริษัทเอาต์ซอร์สวางระบบป้องกันใหม่หวั่นเกิดเหตุซ้ำรอยอีก ด้านสอบโอเน็ตเด็กโต ชั้น ม.6 พบสามเณรทุจริต 1 ราย ให้เพื่อนเณรปลอมตัวมาสอบ พร้อมสอบรอบพิเศษ ม.6 สมัคร 22-28 ก.พ.

รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ). กล่าวยอมรับว่า เป็นความจริงที่มีกระแสข่าวว่าเว็บไซต์ของ สทศ.ถูกแฮ็กข้อมูล ตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่แล้วว่ามีการแฮ็กข้อมูลเข้ามาจริง แต่เป็นการ แฮ็กข้อมูลเข้ามาหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.เท่านั้น โดยเข้ามาในเวลา
 23.00 น. ของวันที่ 20 ก.พ. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันที่ 21 ก.พ. และช่วงเวลา 0.20 น. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบก็ได้สั่งปิดหน้าเว็บไซต์ทันที พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนข้อมูลที่จะเข้าระบบใหม่ เนื่องจากทราบว่าคนที่เข้ามานั้นใช้วิธีสุ่มข้อมูลที่จะเข้าระบบ โดยเจ้าหน้ารายงานอีกว่า เบื้องต้นคนที่แฮ็กเข้ามาได้วาดรูปการ์ตูนหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.เท่านั้น โดยไม่ได้เข้ามาแก้ไขข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น

"ผมยืนยันว่า สทศ.มีระบบป้องกันข้อมูลของนักเรียนอย่างดี ดังนั้นไม่มีใครสามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลได้แน่นอน ดังนั้นฝากนักเรียนไม่ต้องกังวล ส่วนสาเหตุที่มีคนเข้ามาแฮ็กข้อมูลครั้งนี้น่าจะเกิดจากอยากลองวิชา และเท่าที่ทราบมีเกือบทุกปี แต่ สทศ.ป้องกันได้ อีกทั้งผมได้สั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง
 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งจำกัดคนที่จะมาดูข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.มากขึ้น จากที่เดิมจะดูหลายคนก็จะจำกัดคน และที่สำคัญ สทศ.ประสานขอความร่วมมือจากกระทรวงไอซีทีมาตามจับคนที่เข้ามาแฮ็กข้อมูล เพื่อจะได้นำมาลงโทษให้ถึงที่สุด เนื่องจากทำผิดกฎหมาย"รศ.ดร.สัมพันธ์กล่าว

ด้านนายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้วยืนยันว่าข้อมูลไม่ได้ถูกแฮ็ก100%
 เป็น เพียงการแฮ็กข้อมูลเข้ามาหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.เท่านั้น อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้ สทศ.ตรวจสอบว่าเป็นฝีมือใครเพื่อลงโทษต่อไป พร้อมทั้งได้สั่งการให้เรียกบริษัทที่ทำข้อมูล outsource มาวางระบบการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก
1.สรุปข่าว : เว็บไซต์ของ สทศ.ถูกแฮ็กข้อมูลแต่เป็นการ แฮ็กข้อมูลเข้ามาหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.เท่านั้น โดยเข้ามาในเวลา 23.00 น. ของวันที่ 20ก.พ. ถึงเวลา 01.00 น. ของวันที่ 21 ก.พ. และช่วงเวลา 0.20 น. เบื้องต้นคนที่แฮ็กเข้ามาได้วาดรูปการ์ตูนหน้าเว็บไซต์ของ สทศ.เท่านั้น โดยไม่ได้เข้ามาแก้ไขข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้น
2.เหตุผลที่เลือกข่าวนี้ : การเจาะเข้าไปในข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำผิดกฎหมายและอาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
หมายเหตุ : พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

คุณภาพของซอฟต์แวร์

คุณภาพของซอฟต์แวร์และความสำคัญ
           คุณภาพของซอฟต์แวร์และความสำคัญ

คุณภาพของซอฟต์แวร์ คือ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่องค์กรส่งมอบแก่ลูกค้ามีคุณลักษณะสอดคล้องกับข้อกำหนดและสามารถใช้งานได้ตรงตามที่ตกลงกัน การที่ซอฟต์แวร์มีคุณลักษณะถูกต้อง เชื่อถือได้ ใช้งานง่าย บำรุงรักษาง่าย เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ประยุกต์กับงานอื่นๆได้

คุณภาพของ Software ตามหลักเกณฑ์
1. คุณภาพด้านการใช้งานหรือ Usability หลักการง่ายๆในการพัฒนา Software ให้มีคุณภาพด้านการใช้งานที่ดีคือ ต้องทำให้ Software ที่สร้างขึ้นมานั้นง่ายที่จะเรียนรู้เพื่อใช้งานสำหรับมือใหม่ มีส่วนอำนวยความสะดวกให้สำหรับมือเก่าหรือผู้ใช้ที่เชียวชาญแล้ว เช่น พวก Shortcut ต่างๆ นอกจากนั้นต้องสามารถสามารถดักจับ Error ได้หากผู้ใช้ทำผิดพลาด และรับมือกับ Error ได้ดี คือ ข้อความ Error ต้องชัดเจนเป็นภาษามนุษย์ที่ผู้ใช้อ่านเข้าใจและสามารถนำข้อความ Error มาบอกเราได้

2. คุณภาพด้านประสิทธิภาพหรือ Efficiency ได้แก่ ไม่กิน CPU-time, ใช้ Memory น้อยใช้พื้นที่ใน Disk น้อยใช้ Network Bandwidth น้อยสรุปคือใช้ Resource ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งข้อนี้เด็กจบใหม่มักจะขาดหายไปหรือลืมนึกไปเสมอๆ เวลาเราคิด Argorithm ขึ้นมาอย่าพึ่งรีบใช้ ให้ลองคิดดูดีๆเสียก่อนว่ายังมี Argorithm อื่นอีกหรือเปล่าที่สามารถทำงานได้เร็วกว่านี้ ใช้ Memory น้อยกว่านี้ ซึ่งตามปกติแล้วการแก้ไขปัญหาใดๆ มันจะมีวิธีแก้ไขมากกว่า 1 วิธีเสมอ ไม่จำเป็นต้องคิดจนครบ แต่ลองคิดให้ได้มากกว่า 1 วิธี ก็จะทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้น

3. คุณภาพด้านความทนทาน หรือ Reliability คือ ต้องมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เกิด Error บ่อยๆ แต่ถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็ต้องแก้ไขได้โดยง่าย และใช้เวลาแก้ไขน้อยที่สุด ข้อนี้สำคัญมากถ้าเป็น Softwareที่เราพัฒนาให้ลูกค้าที่ต้องนำระบบเราไป Operate งานเอง เราต้องมีวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่ายที่สุด ไม่ใช่ว่าต้องเข้าไปแก้ไขข้อมูลใน Database เสียก่อนจากนั้นทำการ... และ... จึงจะหาย

4. คุณภาพด้านการบำรุงรักษาหรือ Maintainability คือระบบควรจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และมีความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เช่น สามารถแก้ไข Configurationของระบบได้โดยง่ายไม่ต้องทำการ Restart ระบบก่อน นอกจากนั้นควรจะมี MonitoringTool ที่สามารถแสดงสถานะของระบบและสภาพแวดล้อมของระบบว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้มาก


5. คุณภาพด้านการนำมาใช้ใหม่หรือ Resusability คือระบบที่พัฒนาขึ้นมาควรที่จะสามารถนำไปติดตั้งที่ระบบอื่นหรือสภาพแวดล้อมอื่นได้ง่าย โดยแก้ไขเล็กน้อยหรือไม่ต้องแก้ไขเลยเช่น WebApplication ที่พัฒนาขึ้นควรที่จะสามารถติดตั้งได้ทั้งบน Tomcat หรือ WebLogic ก็ได้

การจัดการคุณภาพของซอฟต์แวร์
                  การจัดการคุณภาพของซอฟแวร์ (Software Quality Management) คือ การระบุวิธีการกำหนดคุณลักษณะของซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ วิธีการวัดคุณภาพ และปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟแวร์ โดยมีต้นทุนของคุณภาพ ประกอบไปด้วย
                 1. ต้นทุนการป้องกัน (Prevention Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความบกพร่องในการควบคุมคุณภาพ
                2. ต้นทุนในการประเมิน (Appraisal Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการตรวจสอบ หรือวัดเพื่อประเมินคุณภาพซอฟแวร์
                 3. ต้นทุนของความผิดพลาดภายใน (Internal Failure Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผิดพลาดทางการผลิต

                4. ต้นทุนของความผิดพลาดภายนอก (External Failure Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาดหลังส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า เช่น บริการหลังการขาย


แหล่งที่มา

กรณีศึกษา:  ISO กับ SMEs
             สภาวะการแข่งขันทางธุรกิจปัจจุบัน ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อใช้ในการสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ซึ่งนอกจากประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพของสินค้าและบริการซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้ว การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ได้รับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสากลต่างๆ  เช่น ISO-9001:2000, ISO 14001, ISO 18001, ISO/TS-16949,HACCP, GMP อันเป็นมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันขององค์กรด้านต่างๆ เช่น เพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น ทำให้เกิดพัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม มีการประสานงานที่ดี และสามารถพัฒนาตนเอง เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิต ทำให้การให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิผล ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า หรือผู้รับบริการ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร สร้างโอกาสทางการค้าสำหรับตลาดใหม่ และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ได้
ความท้าทายของการควบคุมมาตรฐาน ISO ในองค์กร
การปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กร เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ต่างๆ องค์กรคงต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวลาที่ใช้ในการปรับกระบวนการของบุคลากร เพื่อการแก้ไขการทำงานต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความยุ่งยากในการตรวจติดตาม การสืบค้นเอกสารที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน เกิดค่าใช้จ่ายที่มาจากการแก้ไขข้อบกพร่อง การปรับปรุงระบบคุณภาพมาตรฐานให้ดีขึ้นตามข้อกำหนดใหม่ๆ  นอกจากการปรับกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลต่างๆแล้ว สำหรับองค์กรที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน ISO ต่างๆอยู่แล้ว คุณอาจจะพบปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ  ในการรักษาและพัฒนาระบบมาตรฐาน ISO อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น เอกสารในระบบคุณภาพ (Procedure,Work instruction, Form, Support Document) มีจำนวนมากขึ้น การจัดการระบบเอกสาร ( การแก้ไข, การอนุมัติ, การบังคับใช้, การจัดเก็บ,การยกเลิก) ติดตามและควบคุมได้ยากการตรวจประเมินภายในและภายนอก การค้นหาเอกสารประกอบการตรวจมีความล่าช้า, การติดตามสถานะ CAR ติดตามได้ยาก ไม่สามารถตรวจสอบประวัติผู้ตรวจติดตามได้, เอกสารที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมของพนักงานที่จำเป็นเรียกดูได้ยาก, เอกสารที่เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือ ประวัติการสอบเทียบ / ทวนสอบ เรียกดูได้ยากและไม่มีการ แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดการสอบเทียบ, การประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ไม่มีการติดตามงานที่มอบหมายจากการประชุม อย่างจริงจัง
ISO Product
เพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆเหล่านี้ บริษัท เมจิกซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกแบบซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานระบบคุณภาพ ช่วยลดปัญหาและ ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำระบบ ซึ่งยังช่วยให้การรักษาและพัฒนา ระบบมาตรฐาน ISO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมคุณภาพ ISO นี้มีให้เลือกใช้งาน 2 แพลตฟอร์ม ได้แก่ ISO Quality Control System (ISO QCS) ทำงานบนฐานข้อมูล Lotus Note และ eSMART ISO  และ Risk Assessment System ทำงานบนฐานข้อมูลของ Microsoft (***เปลี่ยนสีให้เด่น)(Web Base)(***จบ/เปลี่ยนสีให้เด่น) ต่างเป็นเป็นซอฟต์แวร์ระบบควบคุมคุณภาพ ISO ที่ถูกออกแบบและพัฒนาเพื่อให้การทำงานขององค์กรเกิดประสิทธิภาพตามมาตรฐานต่างๆ ลดข้อผิดพลาดในการทำงานตามระบบมาตรฐาน อีกทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถรักษาการรองรับมาตรฐาน ISO และขยายขอบเขตการรองรับมาตรฐานเพิ่มเติมได้อีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณดวงเนตร ยื่นแก้ว  ISO Consultant หมายเลขติดต่อ 086-509-9797 
ซอฟต์แวร์ระบบคุณภาพ ISO
มาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานต่างๆที่ครอบคลุมทุกกระบวนการของระบบมาตรฐานคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมและจัดการเอกสาร การตรวจและติดตาม การประสานงาน แจ้ง และบันทึกรายงานการประชุม การออกรายงาน CAR/PAR การจัดทำแบบสำรวจต่างๆ เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ ISO QCS และ e-SMART ISO และ Risk Assessment System จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ รวมถึงการรักษา และพัฒนาระบบคุณภาพขององค์กร ลดปัญหาและแก้ไข เรื่องข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้น ได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น
ประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ระบบควบคุมคุณภาพ ISO
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการนำซอฟต์แวร์ ISO QCS และ e-SMART ISO และ Risk Assessment System มาใช้งาน ตัวอย่างเช่น ประหยัดเวลาในการ Implement, เรียนรู้และการใช้งาน สามารถติดต่อสื่อสารทุกๆ ขั้นตอนด้วยระบบ E-Mail ทำให้ช่วยลดปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร  สามารถติดตามสถานะของเอกสารด้วยระบบ Online  สามารถสืบค้นเอกสารประกอบการปฏิบัติงานได้ทันที  รองรับการทำงานแบบ Multi User รองรับการปฏิบัติงานร่วมกับไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ มีระบบ Document Tracking ลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร  ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน  ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว  การรักษาระบบมาตรฐานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เพิ่มประสิทธิภาพในการขยายขอบเขตการรองรับมาตรฐาน ISO เพิ่มเติมเป็นต้น