วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรมสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.ไม่ทำลายข้อมูล
6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ
8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จน ถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)
11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต เพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
12.ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส 


แหล่งที่มา


กรณีศึกษา : วิจัยชี้ ทวิตเตอร์ข่าว เสี่ยงผิดจริยธรรม 6 ด้าน
วันที่ 19 มิถุนายน 2554 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จ.ชลบุรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยจัดประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนระดับชาติประจำปี 2554 ‘อนาคตสื่อไทย: ความท้าทายภายใต้รัฐ ทุน และเทคโนโลยี
นางสาวณัฐฐ์นรี กระกรกุล นักศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอจุลนิพนธ์ “ปัญหาเชิงจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนบนทวิตเตอร์” โดยเก็บข้อมูลจากนักข่าวสายการเมืองประจำรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มที่ส่งข่าวผ่านทวิตเตอร์ควบคู่กับรายงานข่าวปกติ ใช้เวลาจัดเก็บข้อมูล 1 เดือนระหว่างวันที่ 23 กันยายน -23 ตุลาคม 2553  เพื่อศึกษาการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนบนทวิตเตอร์ในเชิงจริยธรรม
ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลที่ส่งผ่านทวิตเตอร์จากนักข่าวบางข้อความนั้น มีปัญหาเชิงจริยธรรม 6 ด้าน คือ  1. เสนอข้อมูลผิดพลาด 2. ไม่ได้แยกเนื้อข่าวออกจากความคิดเห็นส่วนตัว 3. เนื้อข่าวย่อความจนบิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น ตัวเลข  4.ใช้ภาษาไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสม 5.ไม่บอกที่มาของแหล่งข่าว 6. เป็นข้อความละเมิดสิทธิส่วนตัว สิทธิเด็ก สิทธิสตรีและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

เมื่อนำเนื้อหาทวิตเตอร์ของนักข่าวกลุ่มตัวอย่างไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชนวิเคราะห์ ส่วนใหญ่แสดงความเห็นตรงกันว่า ในสังคมทวิตเตอร์ยังมีปัญหาเรื่องจริยธรรมการนำเสนอข้อความข่าวสาร แต่วิเคราะห์ในด้านการใช้ภาษาแล้ว พบว่าภาษาที่ใช้เขียนจำเป็นต้องเร้าอารมณ์และดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจไม่ใช่เรื่องผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น