วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์

1.จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์

     เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
     1.
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ 
     2.
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
     3.
การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
     4.
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
         
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
     1.
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
     2.
ความถูกต้อง (Information Accuracy) 
     3.
ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) 
     4.
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
         
ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
     1.
กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     2.
กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
     3.
กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
     4.
กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
     5.
กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
     6.
กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
         
ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม2546)

แหล่งที่มา

กรณีศึกษา : เรื่องจริยธรรมของนักสารสนเทศ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
                        เป็นที่ทราบกันดีว่า คอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ขึ้นอยู่กับคนที่ใช้ว่าใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายล้าง แต่ถ้าพูดถึงด้านการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางที่ผิด ก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อยครั้งกับกรณีที่มีผู้ไม่หวังดีใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงหญิงสาวไปข่มขืนและชิงทรัพย์
      จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2549 ที่ผ่านมา ตำรวจได้ตาม ตะครุบตัว นายหนึ่ง (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี หลังจากได้ร่วมกับพรรคพวกที่ยังหลบหนี หลอกลวงหญิงสาวผู้เสียหายที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมแชต (Chat) โดยมีการแลกเบอร์โทรศัพท์และนัดเจอกัน สุดท้ายก็ไปจบลงตรงที่เหยื่อถูกบังคับข่มขืนจนยับเยิน แถมยังบังคับให้เหยื่อโทรศัพท์ไปบอกญาติโอนเงินมาให้อีกกว่า 1 แสนบาท ก่อนจะพาร่างอันสะบักสะบอมของเหยื่อไปปล่อยทิ้งไว้
    
ถัดมารุ่งเช้า จิ้งจอกสังคมออกปฏิบัติการอีก โดยใช้ แชตออนไลน์เป็นเครื่องมือเหมือนเดิม พูดคุยหลอกล่อเหยื่อสาวซึ่งเป็น นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งจนตายใจ แล้วใช้แผนสองนัดแนะเจอกัน เมื่อเหยื่อสาวหลงเชื่อยอมซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปด้วย โดยพาเหยื่อเลี้ยวเข้าอพาร์ตเมนต์ไปบังคับข่มขืนใจ ก่อนจะชิ่งหนีลอยนวล  ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นแล้วว่ามหาภัยจาก แชตออนไลน์น่ากลัวและอันตรายเพียงใด หากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม เหยื่อบางรายอาจจะ โชคดีในความ โชคร้ายที่แม้จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดกลับบ้านได้ ในขณะที่หลายรายอาจไม่โชคดีเช่นนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น